Imurathailand

ผลข้างเคียงคีโมมีอาการใดบ้าง

ผลข้างเคียงจากการทำคีโมมีอาการใดบ้าง

อาการข้างเคียงเหล่านี้มีหลายอย่างที่ป้องกันได้ โดยแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาให้ยา หรือมาตรการในการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ท่านสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ไข บรรเทา หรือป้องกันอาการดังกล่าวได้ ดังนั้น ท่านจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาจากยาสูงสุด โดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ตามที่ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาตั้งใจไว้ เรามาดูกันว่าอาการข้างเคียงของผู้ที่ได้รับเคมีบำบัด หรือ เรียกอีกอย่างว่า คีโม นั้นมีอะไรบ้าง

    1. อาการไข้
    2. คลื่นไส้ อาเจียน
    3. ท้องผูก
    4. ฝ่ามือฝ่าเท้ามีสีแดงหรือดำคล้ำและเจ็บ
    5. อารมณ์แปรปรวนง่าย
    6. โลหิตจาง
    7. เจ็บปากเจ็บคอ
    8. ผมร่วง
    9. ชาปลายมือปลายเท้า
    10. จุดเลือดหรือจ้ำเลือด (ควรพบแพทย์ทันที)
    11. ผิวหนังและเล็บเปลี่ยนสี (ควรพบแพทย์ทันที)
    12. ท้องเสีย

      อาการคลื่นไส้ อาเจียน
       ซึ่งพบประมาณ 50% ของผู้เข้ารับการรักษาทั้งหมด จึงจัดเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากอาการดังกล่าวทำให้ผู้ป่วยอ่อนเพลีย น้ำหนักลด เกิดภาวะขาดสารอาหารและเกลือแร่ และมีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อการรักษาจนอาจมีผลต่อการรักษาได้ ในการป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนนั้นควรเริ่มให้ยาป้องกันตั้งแต่ก่อนการให้ยาเคมีบำบัดต่อเนื่องไป จนกระทั่งเลยช่วงเวลาที่ยาเคมีบำบัดจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน โดยการให้ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน มีวิธีการให้ยาได้หลายทาง ขึ้นอยู่กับชนิดของยาที่ใช้ เช่น ชนิดรับประทาน การฉีดเข้าหลอดเลือด การฉีดเข้ากล้าม การสอดเข้าทางทวารหนัก การอมใต้ลิ้น หรือแบบแผ่นแปะผิดหนัง ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาทางปากได้

ดังนั้นอาการข้างเคียงเหล่านี้มีหลายอย่างที่ป้องกันได้ โดยแพทย์ผู้รักษาจะเป็นผู้พิจารณาให้ยา หรือมาตรการในการป้องกัน อย่างไรก็ตาม ท่านจึงควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองเมื่อได้รับยาเคมีบำบัด เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการรักษาจากยาสูงสุด โดยมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ตามที่ผู้ป่วยและแพทย์ผู้ทำการรักษาตั้งใจไว้

อาการคลื่นไส้อาเจียน-www imura

อาการไข้จากผลข้างเคียงคีโม

อาการไข้ หมายถึง การที่มีอุณหภูมิในช่องปากมากกว่าหรือเท่ากับ 38 องศาเซลเซียส เป็นเวลามากกว่าหรือเท่ากับ 1 ชั่วโมง หรือมีอุณหภูมิรักแร้มากกว่าหรือเท่ากับ 37.8 องศาเซลเซียส

สาเหตุ ไข้อาจเป็นอาการนำของภาวการณ์ติดเชื้อ หรืออาการของโรคมะเร็งเอง อาจพบภาวะเม็ดเลือดขาว (ซึ่งทำหน้าที่ต่อสู้เชื้อโรคต่าง ๆ) ต่ำลงและเกิดการติดเชื้อ
ได้เมื่อท่านได้รับยาเคมีบำบัด สังเกตได้จากอาการไข้ รู้สึกหนาวสั่น เจ็บรอบ ๆ ทวารหนักหลังการให้ยาเคมีบำบัด โดยเฉพาะในช่วง 7-14 วัน หลังได้รับยาเคมีบำบัด

วิธีป้องกันการติดเชื้อโดยทั่วไป

– ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
– หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่เป็นไข้หวัดวัณโรค และงูสวัด เป็นต้น
– เมื่อท่านมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในบริเวณที่มีผู้คนแออัด เช่น ตลาด โรงภาพยนตร์ หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
– ดูแลร่างกายไม่ให้อับชื้น อาบน้ำให้สะอาดทุกวัน โดยใช้สบู่อ่อน ๆ เช่น สบู่เด็ก
– ระมัดระวังการใช้ของมีคมทุกชนิด
– หากถูกของมีคมบาด ให้รีบทำความสะอาดแผลและปิดด้วยผ้าพันแผล
– ควรสวมถุงมือทุกครั้งเพื่อป้องกันการเกิดแผลเวลาทำสวน หรืองานก่อสร้าง
– ทาครีมหรือโลชั่นถนอมผิว เพื่อป้องกันผิวแห้งแตก
– รับประทานอาหารที่สุกและสะอาด หลีกเลี่ยงของสุก ๆ ดิบ ๆ หรือของหมักดอง เช่น แหนม ปลาร้า ก้อย ส้มตำ และยำต่าง ๆ เป็นต้น
– เมื่อท่านมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานผักและผลไม้สด
– แปรงฟันให้สะอาด ด้วยแปรงสีฟันขนนุ่ม
– ควรมีเทอร์โมมิเตอร์สำหรับวัดไข้ติดตัวไว้ ถ้าท่านสงสัยว่ามีไข้ควรวัดอุณหภูมิร่างกายเพื่อยืนยันอาการ
– หากมีอาการไข้ภายหลังจากการได้รับยาเคมีบำบัด ให้รีบมาพบแพทย์โดยด่วน

วิธีการรักษาเมื่อมีไข้จากผลข้างเคียงคีโม

1. รีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจเลือดดูว่าเม็ดเลือดขาวต่ำหรือไม่ ถ้าจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ แพทย์จะฉีดยาปฏิชีวนะให้โดยด่วน และรับตัวไว้รักษาใน
โรงพยาบาลทันที
2. อาจลดความเสี่ยงของการติดเชื้อในช่วงเม็ดเลือดขาวต่ำ หรือในระยะเวลาที่มีไข้และเม็ดเลือดขาวต่ำได้ด้วยการฉีดยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว
ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ดูแล

โลหิตจางผลข้างเคียงคีโม

อาการ ซีด เหนื่อยง่าย หัวใจเต้นเร็ว เจ็บหน้าอก มึนศีรษะ อาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารทำให้อุจจาระมีสีดำ แต่อาการที่พบบ่อยที่สุด คือ อ่อนเพลีย
สาเหตุ เกิดจากเม็ดเลือดแดงมีจำนวนลดลง ซึ่งอาจเป็นผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด มีเลือดออกในทางเดินอาหาร หรือมีการสูญเสียเลือด รวมทั้งภาวะ
โรคมะเร็งเองก็อาจทำให้จำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำลงได้เช่นเดียวกัน

วิธีบรรเทาอาการ

– รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก เช่น ตับ ผักใบเขียว อาหารที่มีโปรตีน และวิตามินสูง
– พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายสม่ำเสมอแต่ไม่หักโหม เช่น เปลี่ยนจากวิ่งมาเป็นเดินช้า ๆ และทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส
– ทำกิจกรรมต่าง ๆ ตามปกติ แต่ปรับให้เหมาะสมกับสภาพร่างกาย

วิธีการรักษา โดยการให้เลือด หรือยาฉีดกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง ซึ่งทั้งหมดนี้จะขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์โดยประเมินจากสภาวะของผู้ป่วย

มีจุดเลือดหรือจ้ำเลือด

อาการ มีจุดเลือดหรือจ้ำเลือดขึ้นตามตัว เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน มีจุดแดงเล็ก ๆ ที่ตาขาว ลำตัว แขน และขา ประจำเดือนมามาก หากเป็นแผลเลือดออก
เลือดจะหยุดไหลได้ช้า แม้ว่าจะเป็นแผลขนาดเล็กก็ตาม
สาเหตุ เกิดจากจำนวนเกล็ดเลือดต่ำหลังได้รับยาเคมีบำบัด

วิธีป้องกันการเกิดแผลเลือดออกหรือบรรเทาอาการ

– หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจทำให้เกิดบาดแผล หรือเกิดการบาดเจ็บ เช่น ปั่นจักรยาน ขี่มอเตอร์ไซด์ ตัดไม้ผ่าฟืน ตัดเย็บเสื้อผ้า หรือทำฟัน
– เลือกการออกกำลังกายเบา ๆ ไม่หักโหม เช่น เดิน ว่ายน้ำ เป็นต้น
– ใช้ที่โกนหนวดไฟฟ้าแทนใบมีดโกน เพราะทำให้เกิดแผลน้อยกว่า
– ใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม ๆ
– ไม่ควรซื้อยากินเอง เช่น แอสไพริน ยาแก้ปวดคลายกล้ามเนื้อบางชนิดที่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เพราะจะไปรบกวนการทำงานของเกล็ดเลือด
และทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารได้
– งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

วิธีการรักษา แพทย์อาจพิจารณาให้เกล็ดเลือดในรายที่มีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำ และ/หรือมีอาการเลือดออก

คำแนะนำเรื่องโภชนาการสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

เนื่องจากส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเป็นผู้ป่วยนอก ดังนั้นจึงควรเตรียมอาหารและของว่างมาด้วย หากการให้ยาเคมีต้องใช้ระยะเวลาที่นาน บางโรงพยาบาลมีการอำนวยความสะดวกโดยมีตู้เย็น และเครื่องไมโครเวฟไว้ให้บริการ

  • ควรรับประทานอาหารว่างหรืออาหารเบาๆ ก่อนให้ยาเคมีบำบัด
  • การพักผ่อนให้เพียงพอและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สามารถช่วยลดอาการอ่อนเพลียได้เป็นอย่างดี
  • หากรู้สึกไม่อยากอาหารหลังจากได้รับยาเคมีบำบัด ก็ไม่ควรฝืนรับประทานซึ่งแก้ไขได้ด้วยการรับประทานทีละน้อยบ่อยๆ หรือเลือกรับประทานอาหารที่ชอบในระหว่างการรักษา
  • ควรรับประทานอาหารตามปกติหากสามารถทำได้ ที่สำคัญคือ ไม่ควรฝืนรับประทานอาหารที่ไม่ชอบหรือเมื่อยังรู้สึกอิ่มอยู่
  • อย่าเกรงใจที่จะขอให้ญาติและเพื่อนๆ มีส่วนช่วยในการเลือกซื้อ และเตรียมอาหาร หรือหากอยู่คนเดียวก็อาจสั่งอาหารมารับประทานที่บ้านหรือออกไปรับประทานอาหารกับเพื่อนบ้าง

ผลข้างเคียงจากการรักษา ส่วนใหญ่เป็นแบบชั่วคราวเท่านั้น หากอาการไม่หายไป ผู้ป่วยควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบเพื่อดำเนินการรักษาต่อไป

การดูแลตนเอง เมื่อเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน

  • ในผู้ป่วยที่ต้องควบคุมอาหาร เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรมีการปรับเปลี่ยนอาหารตามความเหมาะสม โดยปรึกษากับทีมแพทย์ผู้ให้การรักษา
  • ควรแบ่งมื้ออาหารเป็นมื้อเล็กๆ และบ่อยๆ แทนที่จะเป็นมื้อหลัก 3 มื้อตามปกติ
  • ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนและพลังงานสูง
  • สามารถรับประทานอาหารเสริมควบคู่ไปด้วย โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากทีมผู้ให้การรักษา
  • สามารถรับประทานอาหารเสริมควบคู่ไปด้วย โดยสามารถสอบถามรายละเอียดได้จากทีมผู้ให้การรักษา

ในแต่ละวันหากช่วงเวลาใดที่สามารถทานได้ ควรรับประทานให้เพียงพอ ซึ่งส่วนใหญ่มื้อเช้าจะเป็นมื้อที่ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้มาก

หากไม่สามารถรับประทานอาหารได้เพียงพอ ควรบอกแก่ทีมผู้ให้การรักษาหรือนักโภชนาการเพื่อรับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง

หากรับประทานยาแก้อาการคลื่นไส้อาเจียนไม่ได้ผล ควรแจ้งทีมผู้ให้การรักษาทราบเพื่อพิจารณาปรับยาให้เหมาะสม

วิธีบรรเทาอาการผลข้างเคียงคีโม

– รับประทานอาหารอ่อน ๆ ย่อยง่าย เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ขนมปัง แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารร้อนเพราะมีกลิ่น และทำให้ท่านรู้สึกอยากอาเจียนมากขึ้น
– รับประทานอาหารเหลว ใส หรือเครื่องดื่มเย็น ๆ เช่น น้ำผลไม้ น้ำขิง โดยใช้หลอดดูดแทนการดื่ม
– รับประทานทีละน้อย แต่บ่อยมื้อขึ้น
– หลีกเลี่ยงอาหารกลิ่นฉุน รสจัด อาหารมัน อาหารทอด เพราะจะทำให้ท่านรู้สึกอยากอาเจียนมากขึ้น
– ทำความสะอาดปากและฟันหลังทานอาหารทุกมื้อด้วยน้ำเกลือกลั้วปาก
– พักผ่อนมาก ๆ หากิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจ เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือดูรายการโทรทัศน์ที่ชอบ
– รับประทานยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามแพทย์สั่ง

อาการข้างเคียงดังต่อไปนี้ควรพาผู้ป่วยไปพบแพทย์

  • ท่านควรรีบมาพบแพทย์ทันทีถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
    • มีอาการซีดมาก อ่อนเพลียมาก เหนื่อยหอบ หรือหน้ามืดมีไข้ (วัดไข้ซ้ำอีกครั้งใน 1 ชั่วโมงต่อมา หากยังมีไข้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที โดยห้ามกินยา
      ลดไข้เด็ดขาด) หรือมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ โดยเฉพาะเมื่อมีไข้ในช่วง 7-14 วัน หลังได้รับยาเคมีบำบัด
    • มีจุดเลือดจ้ำเลือดขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล มีจุดแดงที่ตาขาว ลำตัว แขน และขา
    • อาการข้างเคียงต่าง ๆ มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ท้องเสียรุนแรง ปวดศีรษะรุนแรง
    • น้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือลดลงอย่างรวดเร็ว
    • มีผื่น หรือตุ่มขึ้นตามร่างกาย
    • สูญเสียการทรงตัว

แจ้งแพทย์หรือพยาบาลหากมีอาการคลื่นไส้อาเจียนมาก และไม่สามารถควบคุมได้

ข้อมูลบางส่วนคัดกรองมากจาก : chulacancer.net