Imurathailand

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง โรคร้ายใกล้ตัวคุณที่ไม่อาจมองข้าม

โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เกิดจากอะไร ก่อนที่เราจะไปทราบรายละเอียดกันนั้น เราต้องจะต้องดูส่วนประกอบกันก่อนว่าในร่างกายกายเรานั้น มีต่อมน้ำเหลือง และระบบน้ำเหลืองในร่างกายของเรานั้นประกอบด้วยอะไร และสาเหตุการเกิดอาการ การป้องกันโรคร้ายนี้ทำอย่างไร มาดูกันค่ะ

ต่อมน้ำเหลือง รู้กันดีอยู่แล้วว่าร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วยน้ำเหลือง และเลือด แล้วระบบน้ำเหลืองสำคัญกับเราอย่างเรา

ระบบน้ำเหลืองคืออะไร

ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic System) คือการเชื่อมต่อระหว่างเนื้อเยื่อ หลอดเลือด และอวัยวะในร่างกายเพื่อไหลเวียนของเหลวไร้สี ที่เรียกอีกอย่างว่า “น้ำเหลือง) ให้กลับเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิต

น้ำเหลืองจะไหลเวียนไปทั่วทั้งร่างกาย คล้ายกับการไหลเวียนของเลือด

หน้าที่หลัก ของระบบน้ำเหลือง มีอะไรบ้าง (เรามาดูกันค่ะ)

-รักษาความสมดุลระดับน้ำในร่างกาย โดยการสะสมน้ำส่วนเกินที่ไหลออกมาจากเซลล์และเนื้อเยื่อ แล้วส่งกลับเข้าสู่กระแสเลือด

-ดูดซึมไขมันและวิตามินที่ละลายในไขมัน ที่อยู่ในระบบทางเดินอาหาร แล้วส่งคืนกลับเข้าสู่กระแสเลือด

-ป้องกันร่างกายจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ โดยการผลิตเม็ดเลือดขาวชนิดลิมไฟไซต์ (Lymphocyte) รวมถึงเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ ที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกายเช่น เชื้อไวรัส แบคทีเรีย เป็นต้น  ลำเลียงและกำจัดเซลล์ที่ผิดปกติออกจากน้ำเหลือง

ส่วนประกอบของน้ำเหลือง

ระบบน้ำเหลืองเป็นอะไรที่ซับซ้อน ดังนั้นวันนี้จะมาแยกแยะส่วนต่างๆให้ดูกันค่ะว่าน้ำเหลืองมีส่วนใดบ้าง

-น้ำเหลือง คือของเหลวส่วนเกินที่ไหลออกมาจากเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆในร่างกาย รวมเข้ากับสารอื่นๆ เช่น โปรตีน แร่ธาตุ ไขมัน เซลล์น้ำเหลืองช่วยลำเลียงเซลล์เม็ดเลือดขาวไปยังจุดต่างๆ ในร่างกาย เพื่อช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคและการติดเชื้อต่างๆ

-ต่อมน้ำเหลือง มีลักษณะคล้ายเม็ดถั่ว ทำหน้าที่คอยสังเกตุการณ์และกรองเอาของเสียและเซลล์มะเร็งออกจากน้ำเหลือง นอกจากนี้ยังผลิตและเก็บเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ และเซลล์ภูมิคุ้มกันอื่นๆ ที่จะโจมตีรวมถึงกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเราอีกด้วย

ในร่างกายคนเรานั้นจะมีต่อมน้ำเหลืองอยู่ประมาณ 600 ต่อม ซึ่งกระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วร่างกาย และเมื่อร่างกายเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ ต่อมน้ำเหลืองก็มักจะตอบสนองด้วยการบวมขึ้น เพราะมีการสะสมของเซลล์เม็ดเลือดขาว เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อจุลินทรีย์อื่นๆ ที่อยู่ในต่อมน้ำเหลือง

-ท่อน้ำเหลือง ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำเหลืองไปยังเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ท่อน้ำเหลืองนั้นจะรวบรวมเซลล์และน้ำเหลืองส่วนเกิน ก่อนจะนำไปกรองที่ต่อมน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลือง ทำงานคล้ายกับหลอดเลือด แต่จะมีแรงดันในท่อน้ำเหลืองที่ต่ำกว่ามาก และมีวาล์วสำหรับเปิดปิดเพื่อช่วยให้น้ำเหลืองไหลไปในทิศทางเดียวกัน

-ท่อรวบรวม คือท่อที่เชื่อมต่อระหว่างท่อน้ำเหลืองกับหลอดเลือดดำ ทำหน้าที่นการส่งน้ำเหลืองคืนเข้าสู่กระแสเลือด เพื่อให้ปริมาณและแรงดันของเลือดอยู่ในระดับที่ปกติ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้มีน้ำสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อมากเกินไปอีกด้วย

โรคที่เกี่ยวกับระบบน้ำเหลืองที่พบได้บ่อย 

-มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
-ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ
-โรคบวมน้ำเหลือง


วันนี้จะนำโรคที่เกี่ยวกับน้ำเหลืองที่เป็นโรคอันดับต้นๆ ที่พบบ่อยในคนไทยเลยก็ว่าได้ นั่นคือ “โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง”


“มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” เป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่อยู่ใกล้ตัวเรา และไม่ควรมองข้ามเช่นกัน ควรใส่ใจและให้ความสำคัญ โดยการสังเกตตนเองอยู่เสมอ เมื่อพบเจอสิ่งผิดปกติควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ทันท่วงที เพื่อรีบรักษา

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง คืออะไร?

โรคที่มีเนื้องอกร้ายชนิดหนึ่งเกิดขึ้นที่ต่อมน้ำเหลืองหรือโครงสร้างต่อม ซึ่งระบบน้ำเหลืองก็เป็นระบบหนึ่งของภูมิคุ้มกัน ประกอบไปด้วย อวัยวะน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม และไขกระดูก ซึ่งภายในอวัยวะเหล่านี้จะเต็มไปด้วยน้ำเหลือง  มีหน้าที่นำสารอาหารและเซลล์เม็ดเลือดขาวไปทั่วร่างกาย และเมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวเหล่านี้เกิดความผิดปกติ จึงทำให้เกิดเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นมา

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถเกิดได้ในทุกที่ในร่างกาย เพราะต่อมน้ำเหลืองมีอยู่ทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น คอ รักแร้ ข้อพับแขน ข้อพับขา ช่องอกหรือช่องท้อง แต่ยังไงก็ตามเซลล์น้ำเหลืองก็ยังอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกายด้วย ไม่ว่าจะเป็นลำไส้ หรือกระเพาะ จึงสามารถเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้หมดทุกที่

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการคาดการณ์เบื้องต้นพบว่ามีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่

  • ปัจจัยทางเคมี วัตถุทางเคมีที่อาจก่อให้เกิดมะเร็ง เช่น สารเคมีปราบศัตรูพืช น้ำยาย้อมผม เป็นต้น
  • ปัจจัยทางภูมิคุ้มกัน ผู้ที่มีสมรรถภาพภูมิคุ้มกันโรคลดลง เช่น โรคเอดส์ การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคไขข้ออักเสบ เป็นต้น
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนั้น มีความชัดเจนที่เกิดมาจากกรรมพันธุ์ทางครอบครัว เช่น พี่น้องอาจเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตามลำดับ หรือเป็นพร้อมกัน สาเหตุจากไวรัส การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัส HIV เป็นต้น

ปัจจุบันมีการตรวจวินิจฉัยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ดีขึ้นมาก ส่งผลทำให้อัตราการรอดชีวิตสูงขึ้น เนื่องจากการรักษาที่ดีขึ้น สำหรับวัยที่ตรวจพบมะเร็งต่อมน้ำเหลือง สามารถพบได้ในกลุ่มวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 20 ปีถึง 40 ปี  ทั้งนี้ก็ยังมีการตรวจพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป

อาการของโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

คลำพบก้อนที่บริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยก้อนเหล่านั้นจะไม่มีอาการเจ็บ ต่างจากการติดเชื้อที่จะมีอาการเจ็บที่ก้อนเนื้อ มีไข้ หนาวสั่น มีเหงื่อออกมากในกลางคืน เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว  อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก ต่อมทอนซิลโต ปวดศีรษะ ซึ่งอาการนี้มักพบบริเวณต่อมน้ำเหลืองในระบบประสาท แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป เพราะอาจเป็นเรื่องของการอักเสบจากการติดเชื้อ หรืออาจเป็นตัวโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง


มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายเด็ดขาดได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในระยะแพร่กระจาย จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากคลำเจอก้อนเวลาอาบน้ำก็ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที


สำหรับระยะของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเพียงตำแหน่งเดียว เช่น บริเวณลำคอด้านซ้าย หรือบริเวณรักแร้ด้านขวา บริเวณใดบริเวณหนึ่ง

ระยะที่ 2 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่สองตำแหน่งขึ้นไป แต่จะต้องอยู่ด้านเดียวกันของกระบังลม เช่น บริเวณคอด้านซ้าย และคอด้านขวา หรือคอซ้ายกับรักแร้ซ้าย

ระยะที่ 3 พบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองทั้งส่วนบนและส่วนล่างของกระบังลม เช่น มีต่อมน้ำเหลืองโตที่รักแร้ร่วมกับที่ขาหนีบ

ระยะที่ 4 โรคจะกระจายออกนอกระบบน้ำเหลือง เช่น เกิดที่ไขกระดูก หรือเนื้อเยื่ออวัยวะอื่น เช่น ตับ ปอด สมอง กระดูก

วิธีการตรวจหามะเร็งต่อมน้ำเหลือง

แพทย์จะทำการซักประวัติคนไข้ และตรวจร่างกายเป็นลำดับ หรือตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองออกไปตรวจทางพิษวิทยา ส่วนการรักษาจะใช้วิธีการให้ยาเคมีบำบัด จำนวนครั้งในการให้ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแลในเคสนั้นๆ

ซึ่งการรักษาโรคนี้จะมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดูแลอยู่ หากตัวโรคมีความรุนแรงมากจะใช้วิธีการฉายแสงจากภายนอก หรือในคนไข้ที่มีข้อห้ามในเรื่องของการให้ยาก็จะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้เช่นกัน
โดยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะไม่ต้องผ่าตัด เนื่องจากเป็นโรคที่ตอบสนองต่อยาและแสงเคมีบำบัดมากๆ อยู่แล้ว

วิธีการดูแลตนเองสำหรับโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองนี้ คือ

พยายามทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อาจจะเน้นอาหารที่มีพลังงานเยอะ เช่น ไข่ขาว หรืออาหารที่มีโปรตีนสูงก็ช่วยได้ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ แต่ควรหลีกเลี่ยงพวกยาชุด ยาชุด ยาหม้อ ยาลูกกลอน และควรออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยให้สุขภาพดี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
อ. พญ.กีรติกานต์ บุญญาวรรณดี
หน่วยรังสีรักษา และมะเร็งวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล