Imurathailand

ยาเคมีบำบัด คืออะไร

ยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัด หรือบางท่านอาจเรียกสั้นๆ ว่า “คีโม” ย่อมาจาก “คีโมเทอราปี” (chemotherapy) หมายถึง สารเคมีหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ ต้านหรือทำลายเซลล์มะเร็ง โดยมีเป้าหมายสำคัญคือเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวเร็ว และต่อเนื่อง ยาเคมีบำบัดจะออกฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง หลายรูปแบบ ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวต่อไปและตายในที่สุด
.ยาเคมีบำบัด
แม้ว่าปัจจุบันยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งส่วนมากยังเป็นการใช้ยาเคมีบำบัด แต่ยาต้านมะเร็งยังรวมถึงยากลุ่มอื่นที่มีฤทธิ์ต่อต้านการเจริญเติบโตของ เซลล์มะเร็งด้วยเช่นกัน ยาเคมีบำบัดแตกต่างจากยาต้านมะเร็งกลุ่มอื่นด้วย กลไกการออกฤทธิ์ไปขัดขวางกระบวนการแบ่งเซลล์ในระยะต่างๆ โดยตรง ขณะที่ยาต้านมะเร็งอื่น เช่น ยาต้านฮอร์โมน ออกฤทธิ์ต้านการสร้างหรือการใช้ ฮอร์โมนในการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง ยาต้านมะเร็งแบบมุ่งเป้า (targeted therapy) อาจออกฤทธิ์ต้านการทำงานของโปรตีนในเซลล์มะเร็ง แล้วจึงมีผล ต่อการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งในภายหลัง
.
เคมีบำบัด คือ การนำสารเคมีหรือยามาใช้ในการรักษามะเร็ง ยาเหล่านี้ถือว่าเป็นยาต่อต้านมะเร็ง ยาเคมีบำบัดจะเข้าไปขัดขวางขบวนการเจริญเติบโตของวงจรชีวิตเซลล์ทำให้เซลล์ตาย ยาแต่ละตัวออกฤทธิ์แตกต่างกัน ในการรักษาผู้ป่วยมะเร็งอาจให้การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างเดียว บางแผนการรักษาประกอบด้วยยาหลายชนิดที่ให้ร่วมกัน หรือให้ร่วมกับการรักษาวิธีอื่นเมื่อให้ยาเคมีบำบัดเข้าสู่ร่างกายจะไปทำลายเซลล์มะเร็ง เเละทำลายเซลล์ปกติบางส่วนทำให้มีผลกระทบต่อเซลล์ปกติด้วย โดยเฉพาะเซลล์ที่มีการเจริญและแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเซลล์เยื่อบุทางเดินอาหาร, เม็ดเลือด, เส้นผม และระบบสืบพันธุ์ (รังไข่, ลูกอัณฑะ) ดังนั้น จึงเป็นสาเหตุของอาการข้างเคียงหรืออาการไม่พึงประสงค์ระยะหนึ่งในระหว่างการให้ยาแต่ละชุด

อาการข้างเคียงที่พบบ่อย เช่น คลื่นไส้อาเจียน, ผมร่วง, แผลในปาก, ปริมาณเม็ดเลือดลดลง เป็นต้น อาการข้างเคียงที่ต้องปรึกษาแพทย์ เช่น มีเลือดออกหรือเป็นแผลในปากมาก, มีผื่นหรืออาการแพ้, มีไข้ หนาวสั่น, ปวดมากบริเวณที่ฉีด, หายใจลำบาก, ท้องเดินหรือท้องผูกอย่างรุนแรง, ปัสสาวะหรืออุจจาระมีเลือดปน

วิธีปฏิบัติตนเมื่อมีอาการข้างเคียง

• รับประทานอาหารอ่อนๆ ย่อยง่าย
• รับประทานครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง
• หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด มีไขมัน และของทอดทุกชนิด
• ทำความสะอาดปากและฟันหลังอาหารทุกมื้อ
• ถ้ารู้สึกคลื่นไส้ ให้พักผ่อนและสูดหายใจยาวๆ ลึกๆ ช้าๆ
• ควรรีบปรึกษาแพทย์ หากมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนมากตลอดวัน และรับประทานอาหารได้น้อยมาก
.
นอกจากนี้เราควรหาอาหารเสริมที่เสริมสร้างวิตามินให้กับร่างกายและช่วยให้การพักฟื้นหลังการทำคีโมได้เร็วขึ้นด้วย
.

“IMURA” (อิมูร่า) วิตามินอาหารเสริมสำหรับผู้ที่เตรียมเข้ารับคีโมและป้องกันความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
.
✅ปกป้องเซลล์ในร่างกาย ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง
✅สร้างภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ ชะลอความเสี่ยงของเซลล์
✅เตรียมพร้อมร่างกายก่อนทำคีโม
✅ช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันและร่างกายฟื้นฟูตัวได้ไวกว่าปกติ
✅ทำให้ทานอาหารได้และพักผ่อนได้เพียงพอ
✅ลดอาการบาดเจ็บจากแผลในปาก
✅ร่างกายได้วิตามินที่ครบถ้วน

ให้ IMURA ได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้คุณสามารถยืนหยัดสู้กับโรคร้ายให้ผ่านพ้นไปได้อย่างแข็งแรง